คุณลักษณะ | คุณสมบัติ | ประโยชน์ | อนุภาคเซรามิค | เปรียบเทียบคุณสมบัติ | Technical Data | Download
คุณลักษณะ
ฉนวนเหลวสะท้อนความร้อน MAX-KOOL พัฒนาจาก CERAMIC MICROSPHERES ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบ
วัสดุเคลือบกระสวยอวกาศขององค์การ NASA (NASA SPACE SHUTTLE) มีส่วนผสมของอิมัลชั่นบิทูเมนเหลว เสริม
ความแข็งแรงด้วยเส้นใยโพลีเอสเตอร์ สารอะครีลิคโพลีเมอริคเรซิน และไททาเนียมไดอ็อกไซค์ มีคุณสมบัติในการสะท้อน
พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์สูง ดูดซับความร้อนต่ำ คายความร้อนดี ไม่ติดไฟ ไร้ฝุ่น ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่ก่อ
ให้เกิดมลพิษ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานสากล ASTM ของประเทศสหรัฐอเมริกา และมาตราฐาน JIS จากประเทศญี่ปุ่น

กราฟแสดงการทดสอบเปรียบเทียบอุณหภูมิใต้หลังคาMetal Sheet และกระเบื้องลอนปกติ และหลังคาที่มีการเคลือบ MAX-KOOL

ค่าสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ (SOLAR REFLECTANCE) 90.1%
ค่าดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ (SOLAR ABSORBTANCE) 9.9%
ค่าการคายพลังงานความร้อน (THERMAL EMITTANCE) 88%
คุณสมบัติ
MAX-KOOL เป็นฉนวนที่ใช้วิธีการติดตั้งโดยการพ่นเคลือบภายนอกหลังคาอาคาร
ป้องกันความร้อนโดยใช้วิธีสะท้อนพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ (SOLAR RADIATION REFLECT)
ซึ่งเป็นการป้องกันความร้อนก่อนเข้าสู่ตัวอาคาร อย่างมีประสิทธิภาพ
DURABILITYทนทานต่อแสงแดดและสภาวะอากาศของประเทศไทยดีเยี่ยมต้านทานต่อการเกิดเชื้อรา ตะไคร่น้ำ
EXCELLENT BONDING ยึดเกาะกับพื้นผิวได้ดีแรงยึดเกาะไม่ต่ำกว่า 20 ก.ก./ต.ร.ซ.ม.
เหมาะสำหรับหลังคา ผนังภายนอก ดาดฟ้า บ้าน อาคาร โรงงาน โกดัง ตู้คอนเทนเนอร์ ฯ
ใช้ได้กับวัสดุมุงหลังคามากมาย หลายประเภท เช่น กระเบื้องซิเมนต์ใยหิน กระเบื้องโมเนีย ดาดฟ้า คอนกรีต
เมทัลชีท สังกะสี ฯ
SAFETY ไม่เป็นพิษ (NON TOXIC) เป็นวัสดุชิน WATER BASE คือมีส่วนผสมเป็นน้ำ ไม่มีสารที่เป็นพิษ
ไม่เป็นฝุ่นผง หรือไอระเหย ที่เป็นอันตรายต่อผู้พักอาศัย และผู้ใช้งาน
WATER PROOF สามารถต้านทานการซึมผ่านของน้ำ
SUPER FLEXIBILITY ให้ความยึดหยุ่นของฟิล์มเมื่อแห้งสูง จึงทนทานต่อการบิดตัวแตกร้าว
ของพื้นผิวที่เคลือบได้อย่างดี
NOISE CONTROL ลดเสียงรบกวนจากภายนอก เนื่องจากคุณสมบัติของ CERAMIC
ที่ช่วยลดการนำคลื่นเสียง
ประโยชน์
1. การป้องกันความร้อน (INSULATIONS)
ลดอุณหภูมิภายในอาคารให้เย็นลง
ประหยัดค่าไฟฟ้าที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศ และคืนทุนเร็ว
เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลง อัตราการสึกหรอต่ำลง จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง
สินค้า หรือ วัตถุที่กองเก็บด้านล่าง เสื่อมสภาพช้าลง
ยืดอายุการใช้งาน ของอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ใต้แผ่นหลังคา เช่น สายไฟฟ้า หลอดไฟ ฯ ทำให้ไม่กรอบแตก เสื่อมสภาพจากความร้อนช้าลง
พนักงานผู้อยู่อาศัยภายในอาคาร มีสภาพการทำงานดีขึ้น
2. การลดความเสียหายของตัวหลังคาและอาคาร (REDUCE MAINTENANCE COST)
ช่วยให้แผ่นหลังคา และผนังไม่แตกร้าวจากการขยาย หดตัว จากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
ป้องกันหลังคากัดกร่อน แตกลายงา บิด โก่งตัว
ช่วยยืดอายุการใช้งานของหลังคา ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
อนุภาคเซรามิค

อนุภาคเซรามิคทรงกลม
อนุภาคเซรามิค (Ceramic Microspheres) มีขนาดประมาณ 10 ไมครอน มี ลักษณะ
ทรงกลมภายในกลวง เมื่อส่องกล้องจุลทรรศน์จะเห็น เหมือนกับผลึกลูกแก้ว สะท้อนแสง เมื่อ
มองตาเปล่าจะเห็นเหมือนผงแป้งสีขาวละเอียด มีค่า compressive strength 6500 psi / softening point 1800 * c / Thermal conductivity 0.0 W/m/Deg.C มีคุณสมบัติ
เป็นตัวนำความร้อนที่เลว และเป็นฉนวนที่ดี อนุภาคเซรามิคจะคอยทำหน้าที่สะท้อนรังสี ความร้อนจากแสงอาทิตย์ ได้เป็นอย่างดี จะดูดซับความร้อนไว้น้อย และคายความร้อนได้ดี
กฏของฟิสิกส์ กล่าวว่าไม่มีสิ่งใดเคลื่อนที่โดยตัวนำที่เป็นสุญญากาศ เมื่อเรานำก็าซ
ออกจากนุภาคเซรามิค ให้ภายในกลายเป็นสุญญากาศ ผลก็คือเราจะมี กระติกสุญญากาศ
เล็กๆ ที่จะต้านทานการนำความร้อนและเสียง เมื่อเรานำ อนุภาค เซรามิค นี้รวมกับวัสดุอื่นๆ
มันจะปรับปรุงในด้านการต้านทานความร้อนของวัสดุนั้น ยกตัวอย่าง ceramic tiles บนยานอวกาศ Space shuttle ใช้อนุภาคเซรามิคเคลือบผิวเพื่อที่จะควบคุมความร้อน และ
ลดระดับ การขยายตัวของ ผิวยานอวกาศ อันเกิดจากความร้อน เมื่อนำอนุภาคเซรามิค ผสม
กับอครีลิคและส่วนประกอบอื่นๆ อย่างเหมาะสม นำมา เคลือบหลังคา หรือ ผนังอาคาร จะแห้ง
เป็นฟิล์มติดแน่นเป็นเกราะป้องกันความร้อน ไม่ติดไฟ ป้องกัน ความเสียหาย จากรังสี UV ป้องกัน การเสื่อมสภาพจากมวลอากาศ

ภาพขยายการเรียงตัว
เม็ดสีโดยทั่วไปจะมีขอบแหลม และมีการยึดตัวระหว่างกันแบบหลวมๆ ดังนั้นเมื่อฟิล์ม
สีแห้งแล้ว จะมีช่องว่างให้ความร้อนผ่าน อีกทั้งสิ่งสกปรก และเชื้อราหลุดเข้าไป แทรกตัว
ยึดเกาะได้ง่าย
การใช้อนุภาคเซรามิคเป็นเหมือนลูกบอลทรงกลมยึดเหนี่ยวกันอย่างหนาแน่น ทำให้
ฟิล์มแห้งยึดเกาะแข็งแกร่งขึ้น ความร้อนไม่ผ่านไปมา สิ่งสกปรกเชื้อราจับเกาะได้ยาก
เปรียบเทียบคุณสมบัติ
ฉนวนใยแก้ว MAX KOOL
  ค่าการต้านทานความร้อน (R-Value) ไม่ควรต่ำกว่า 1.428 m2k/w   ค่าการต้านทานความร้อน (R-Value) สูงถึง 3.7 m2k/w สูงกว่าฉนวนใยแก้ว จึงป้องกันความร้อนได้ดีกว่า
  การติดตั้งใต้แผ่นหลังคายุ่งยากหลายขั้นตอน ต้องหยุด
การใช้อาคารด้านล่าง ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายแอบแฝง
เพิ่มขึ้น
  ติดตั้งเคลือบบนหลังคา สะดวกรวดเร็วไม่ต้องหยุด
การใช้งาน ภายในอาคาร
  ขึ้นไปสังเกตและตรวจสอบคุณภาพการติดตั้งได้ยาก เนื่องจากอยู่บนแผ่นฝ้า   สังเกตตรวจสอบได้ง่าย เนื่องจากสามารถมองเห็น
การทำงานได้ทุกขั้นตอน
  ใช้วิธี “หน่วง” ความร้อนผ่านตัวฉนวนเข้าสู่ตัวอาคาร
ช้าลง เป็นการป้องกันหลังจากอาคารได้รับความร้อนแล้ว
  ใช้วิธี “สะท้อน” และ “คาย” ความร้อนให้ค้างบนหลังคา
น้อยลง เป็นการป้องกันก่อนอาคารจะได้รับความร้อน
  มีช่องว่างระหว่างแผ่นฉนวนทำให้ประสิทธิภาพ
โดยรวมลดลง
  เคลือบเต็มพื้นที่หลังคา ไม่มีรอยต่อจึงให้ประสิทธิภาพสูง
  เนื้อฉนวนแตกเป็นเส้นฝุ่นผง อันตรายต่อสุขภาพ เป็นขยะที่ไม่สลายตัว ก่อให้กิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย และปนเปื้อนกับวัสดุ สินค้าที่กองเก็บในอาคารได้   ไม่ก่อให้เกิดฝุ่น ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย และไม่ก่อมลภาวะ
  เกิดความร้อนสะสมบนแผ่นหลังคาเพิ่มขึ้น
เนื่องจาก ความร้อน ที่ถูกหน่วงไว้ตกค้างอยู่บนหลังคา
ทำให้ หลังคา เกิดความเสียหายเร็วขึ้น
  ความร้อนสะสมบนหลังคาต่ำช่วยยืดอายุการใช้งานของ
หลังคา
  มีผลกระทบกับแผ่นฝ้างานระบบไฟฟ้า ระบบปรับ
อากาศ ท่อดับเพลิง มีโอกาสเสียหายสูงจากการติดตั้ง
  ติดตั้งภายนอก จึงไม่มีผลกระทบกับแผ่นฝ้าและ งานระบบ
ภายในอาคาร
  ความร้อนเข้าสู่ภายในอาคาร ทำให้สายไฟฟ้า
หลอดไฟฟ้า และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่อยู่ในช่องว่าง ใต้หลังคา
เสื่อมคุณภาพเร็วกว่าปกติ
  ป้องกันความร้อนก่อนเข้าสู่อาคารจึงช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ใต้แผ่นหลังคามีอุณหภูมิลดลง เป็นการยืดอายุการใช้งาน
ให้นานขึ้น
  การซ่อมแซมยุ่งยาก เพราะอยู่ภายในอาคาร ต้องหยุด
งานหรือออกจากอาคารขณะซ่อมแซม
  การซ่อมแซมสะดวก เนื่องจากอยู่ภายนอกอาคาร จึงไม่มีผลต่อการปฏิบัติงาน หรือการอยู่อาศัยภายในอาคาร
  อายุการใช้งาน 3-4 ปี จะเริ่มเกิดปัญหาไอน้ำฝังตัว
ในฉนวน ทำให้เป็นเชื้อราและนำความร้อนมาสู่อาคาร หรือ
ปัญหาฟลอยด์ฉีกขาดเนื่องจาก นก หนู แมลงสาบทำรัง
  อายุการใช้งานนาน 10 ปี เทียบเท่าสีทาภายนอกบ้านชั้นดี เมื่อหมดอายุสามารถซ่อมแซมโดยการพ่นทับจุดที่มีปัญหา
ได้ง่าย
Technical Data
  ค่าสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์   90.1%   JIS R 3106
  ค่าดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์   9.9%   JIS R 3106
  ค่าการคายความร้อน   88%   JIS R 3106
  ความสามารถในการยึดเกาะ   127.63 kg/cm2   ASTM C633
  ค่าความยืดหยุ่น   403.28%   ASTM D 638
  ความทนทานต่อสภาพบรรยากาศ   ทนทานผ่าน   ASTM G-53
  การต้านทานต่อสารเคมี 9 ชนิด   ผ่าน   ASTM D 1308-87
  ความหนาแน่น   1.15 g/cm3   ASTM D-70
  ต้านทานแรงกระแทก   ผ่าน   ASTM D-2794
  ต้านทานต่อการขูดขีด   ผ่าน   ASTM D-968
  การทดสอบการลุกลามไฟ   ผ่าน   UL 94
  ความต้านทานต่อการแตกร้าว   ผ่าน   JIS 6909 ( 1984 ) 5:7
  ต้านทานต่อการเช็ดล้าง   ผ่าน   JIS 6909 ( 1995 ) 6:14
  การทดสอบหาปริมาณสารพิษ   ผ่าน   มอก. 1097 - 2535
Download
กราฟทดสอบอุณหภูมิจากหน่วยงานจริง ดาวน์โหลด
ข้อมูลเปรียบเทียบกับวัสดุกันความร้อนทั่วไป ดาวน์โหลด
การคำนวณการประหยัดพลังงาน ดาวน์โหลด
ผลทดสอบจากสถาบัน
- TECHNICAL DATA ดาวน์โหลด
- ผลทดสอบ Maxkool ดาวน์โหลด
เอกสารภาพหน่วยงานอ้างอิง
- ฟาร์มปศุสัตว์ ดาวน์โหลด
- รวมรูปภาพ ดาวน์โหลด
- เอกสารภาพงานกระเบื้องซิเมนต์ใยหิน ดาวน์โหลด
- เอกสารภาพงานกระเบื้องโมเนีย ดาวน์โหลด
- เอกสารภาพงานดาดฟ้าคอนกรีต ดาวน์โหลด
- เอกสารภาพงานผนัง,ไซโล,แท็งค์ ดาวน์โหลด
- เอกสารภาพงานเมทัลชีทชุด 1 ดาวน์โหลด
- เอกสารภาพงานเมทัลชีทชุด 2 ดาวน์โหลด
โปรชัว
- โปรชัว Maxkool ดาวน์โหลด
- เอกสาร Maxkool ภาษาอังกฤษ ดาวน์โหลด
If you are not pdf program
please click here to download